อินเดียเป็นดินแดนเก่าแก่ เป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก เป็นต้นตอของวัฒนธรรมตะวันออก เป็นแหล่งศาสนาของโลกและเป็นแหล่งกำเนิดวรรรณคดีที่สำคัญ

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ศาสนาแบบอินเดีย


ศาสนาแบบอินเดีย (อังกฤษ: Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์ ศาสนาเหล่านี้ถือว่าเป็นศาสนาตะวันออก แม้ศาสนาแบบอินเดียจะเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์อินเดีย แต่ก็ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในอนุทวีปอินเดียเท่านั้น ยังได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย

ชาวฮารัปปาในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุราว 3300-1300 ปีก่อนคริสต์ศักราชมีวัฒนธรรมแบบเมืองมาตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของศาสนาพระเวท ชาวทราวิฑและตระกูลภาษาดราวิเดียนในอินเดียใต้ก็มีมาก่อนศาสนาพระเวทเช่นกัน
ประวัติศาสตร์นับจุดเริ่มต้นของศาสนาแบบอินเดียที่ศาสนาพราหมณ์ของชาวอินโด-อารยัน ซึ่งต่อมาได้รวบรวมเป็นคัมภีร์พระเวท และเรียกยุคที่มีการเรียบเรียงคัมภีร์พระเวทว่ายุคพระเวท ซึ่งตรงกับช่วง 1750-550 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นจึงเป็นยุคปฏิรูป ซึ่งได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนาฮินดูในปัจจุบัน มีขบวนการสมณะเป็นขบวนการศาสนาที่เกิดขึ้นแยกจากสายพระเวทและดำรงอยู่คู่ขนานกันมา ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน สำนักโยคะ ความเชื่อเรื่องสังสารวัฏ และโมกษะ ก็มีที่มาจากขบวนสมณะนี้ด้วย
ยุคปุราณะซึ่งตรงกับช่วง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 500 และต้นยุคกลางซึ่งตรงกับ ค.ศ. 500-1,100 เป็นช่วงที่เกิดสำนักใหม่ ๆ ขึ้นในศาสนาฮินดู เช่น ลัทธิภักติ ลัทธิไศวะ ลัทธิศากติ ลัทธิไวษณพ จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคอิสลามราว ค.ศ. 1,100-1,500 และคุรุนานักเทพตั้งศาสนาซิกข์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และแพร่หลายมากในภูมิภาคปัญจาบ
เมื่อถึงยุคจักรวรรดินิยมที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียว กระแสการตีความใหม่ในศาสนาฮินดูเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้เกิดกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยอินเดีย

ความเหมือนและความแตกต่าง
แผนที่แสดงศาสนาอับราฮัม (สีชมพู) และศาสนาแบบอินเดีย (เหลือง) ในแต่ละประเทศ
ตามแนวทางของ Tilak เราอาจศึกษาตีความศาสนาแบบอินเดียในส่วนของความเหมือนและความแตกต่าง ผู้ศึกษาจากตะวันตกมักเน้นไปที่ความแตกต่าง ในขณะที่นักวิชาการอินเดียเองมุ่งเน้นศึกษาส่วนที่เหมือนกัน

ความเหมือน
ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน และศาสนาซิกข์ มีหลักการพื้นฐานบางอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจตีความต่างออกไปโดนศาสนิกชนแต่ละกลุ่มและแต่ละปัจเจกบุคคล ก่อนคริสต์ศตวรรษที่  ศาสนิกชนเหล่านี้มิได้ติดป้ายตนเองให้แตกต่างจากผู้อื่น หากแต่เห็นว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวทางวัฒนธรรมที่แตกสาขาออกมาแต่ร่วมรากเดียวกัน

ความต่าง
ศาสนาแบบอินเดียแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน และภายในแต่ละศาสนาก็มีความแตกต่างกันระหว่างนิกาย เช่น ธรรม ในศาสนาฮินดูหมายถึง หน้าที่ ในศาสนาเชน หมายถึง การทำความดี ส่วนศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า

ประวัติศาสตร์อินเดีย

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมโลหะอารยธรรมแรกของอินเดีย เป็นอารยธรรมสำริด รุ่งเรืองเมื่อประมาณ 2600 ปีถึง 1900 ปีก่อนค.ศ. มีการขุดค้นพบแหล่งอารยธรรมสินธุขนาดใหญ่ที่สำคัญที่เมืองฮารัปปา และโมเฮน-โจดาโร อารยธรรมสินธุมีการสร้างบ้านด้วยอิฐ มีระบบผังเมืองและชลประทานที่ก้าวหน้า
สาเหตุที่อารยธรรมสินธุจบสิ้นลงมีหลายข้อสันนิษฐาน ข้อสันนิษฐานแรกคือถูกชาวอารยันรุกราน โดยชาวอารยันนั้นด้อยวัฒนธรรมกว่าจึงทำให้อารยธรรมสินธุเสื่อมลง

สมัยพระเวท
ประมาณ 2000 ถึง 1500 ปีก่อนค.ศ. ชาวอินโด-อารยันจากเอเชียกลางอพยพเข้ามาในอินเดีย และพบกับอารยธรรมสินธุ ทั้งสองอารยธรรมผสมผสานรวมกันเป็นอารยธรรมพระเวท เป็นอารยธรรมเหล็ก หลักฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมนี้คือพระเวท เป็นวรรณกรรมทางศาสนาในภาษาสันสฤต อันเป็นที่มาของชื่อสมัยนี้
ช่วงแรกของสมัยพระเวท เรียกว่า สมัยฤคเวท เป็นสมัยที่ชาวอารยันเข้ามาในอินเดียใหม่ๆ เป็นชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ คัมภีร์ฤคเวทเป็นพระเวทที่เก่าแก่ที่สุด ต่อมีจึงปรากฏมียชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท มีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาหลายครั้ง ตามมาด้วยคัมภีร์เสริมอื่นๆ ได้แก่ สามหิตา อรัญญิก อุปนิษัท และพราหมณ์
มหากาพย์ทั้งหลาย ได้แก่ รามายณะและมหาภารตะ ถือกำเนิดในช่วงประมาณพุทธกาล ตอนปลายสมัยพระเวท ชาวอารยันในอินเดียอยู่กันเป็นเผ่า เลี่ยงสัตว์เร่ร่อนแต่ต่อมาเริ่มรู้จักเพาะปลูกตั้งรกราก มี การค้าขายทำให้บางเผ่ารวบรวมตั้งตนเป็นอาณาจักรใหญ่ได้ และเริ่มมีระบบวรรณะ ชัดเจน

มหาชนบท
ปลายสมัยพระเวทประมาณ 600 ปีก่อนค.ศ. ชาวอารยันในอินเดียสามารถรวมตัวเป็นอาณาจักรเล็กๆประมาณ 16 อาณาจักรได้ แต่ละอาณาจักรเรียกว่า มหาชนบท ตามลุ่มแม่น้ำคงคา-สินธุ ชุมชนเมืองเติบโตอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของอารยธรรมสินธุ ทั้ง 16 มหาชนบทมีการปกครองที่แตกต่างกัน บางอาณาจักรปกครองโดยกษัตริย์ บางอาณาจักรปกครองโดยสภาเมือง เป็นสาธารณรัฐ
ภาษาที่ใช้ของชาวอารยันในหมู่ชนชั้นสูงคือภาษาสันสกฤต ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปใช้ภาษาบาลี กำเนิดศาสนาสองศาสนา คือ พระพุทธศาสนา โดยเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ และศาสนาเชน โดยมหาวีระ ทั้งสองศาสนาเน้นเรื่องการละความสุขทางโลก และสอนเป็นภาษาบาลี จึงเข้าถึงผู้คนได้มาก
พ.ศ. 23 พระเจ้าดาริอุสแห่งเปอร์เซียแผ่อิทธิพลเข้ามาในปัญจาบและคันธาระ และใน พ.ศ. 209 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าบุกอินเดียและเอาชนะพระเจ้าปุรุแห่งแคว้นเปารพที่แม่น้ำไฮดาสพ์ (Hydaspes) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตั้งข้าหลวง (Satrap) ปกครองแคว้นต่างๆ รวมถึงอินเดีย แคว้นคันธาระจึงกลายเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมระหว่างกรีกและอินเดีย ทำให้เกิดอารยธรรมอินเดีย-กรีก และศิลปะพระพุทธศาสนาแบบกรีก เกิดพระพุทธรูปเป็นครั้งแรกและส่งอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางศิลปะของพระพุทธศาสนา

ราชวงศ์โมริยะ (พ.ศ. 220 - พ.ศ. 385)
ประมาณพ.ศ. 200 แคว้นมคธภายใต้ราชวงศ์นันทาแผ่อิทธิพลไปทั่วอินเดียเหนือกลืนกินมหาชนบททั้งหลายจนหมดแล้ว แต่ในพ.ศ. 223 โกติลยะ จนักขยะ ปราชญ์คนหนึ่งได้ขอเข้ารับราชการกับทางแคว้นมคธ แต่พระเจ้าธนาแห่งนันทาทรงปฏิเสธ ทำให้โกติลยะแค้นจึงยุยงเจ้าชายจันทรคุปต์ โมริยะ เข้ายึดบัลลังก์จากราชวงศ์นันทา ตั้งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงขับพวกกรีกออกจากปัญจาบและคันธาระ และได้ดินแดนจากเปอร์เซียมาบางส่วน และบุกลงไปทางใต้ ยึดได้อินเดียเกือบทั้งทวีป ยกเว้นกลิงครัฐ
ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมุ่งมั่นมากที่จะยึดกลิงครัฐ ประมาณพ.ศ. 270 จึงทรงทำสงครามอย่างหนักทำให้ชาวแคว้นกลิงครัฐตายเป็นเบือ พระเจ้าอโศกทรงสำนึกและหันเข้าหาพระพุทธศาสนาเพื่อชดเชยบาปที่ทรงเคยก่อ หลักฐานที่สำคัญในสมัยพระเจ้าอโศกคือเสาต่างที่พระเจ้าอโศกทรงให้สลักพระราชโองการลงไป เรียกว่า เสาพระเจ้าอโศก ซึ่งกระจายทั่วอินเดีย พระเจ้าอโศกทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามดินแดนต่างๆ เป็นการแพร่กระจายพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่น

ราชวงศ์คันธาระ (พ.ศ. 313 - 763)
ประมาณพ.ศ. 300 อิทธิพลของราชวงศ์โมริยะในอินเดียใต้เสื่อมลง ทำให้อาณาจักรต่างๆตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้ง ราชวงศ์คันธาระ ตั้งประเทศขึ้นในอินเดียกลางในพ.ศ.ดเดเดเดเดเดเ วงศ์โจฬะ และราชวงศ์ปัณฑยะ
ส่วนราชวงศ์โมริยะเองก็ถูกโค่นไปในพ.ศ. 358 โดยราชวงศ์สังกะ อำนาจของแคว้นมคธอ่อนแอลง พระเจ้าเดเมตริอุสที่ 1 แห่งแบคเทรีย เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โมริยะจึงนำทัพเข้าบุกอินเดีย ตั้งอาณาจักรกรีกขึ้นในแคว้นปัญจาบ ต่อมาพระเจ้าเมนันเดอร์ (พระเจ้ามิลินท์) สามารถยกทัพบุกปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธได้ อาณาจักรกรีก-อินเดียรุ่งเรืองภายใต้พระเจ้าเมนันเดอร์ ศิลปะแบบกรีผสมผสานกับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธรูปองค์แรก
ในทางกลับกัน ราชวงศ์สังกะกลับกดขี่พระพุทธศาสนา ทำให้ชาวพุทธจำนวนมากหนีไปอยู่ที่อาณาจักรกรีก-อินเดีย ประมาณพ.ศ. 400 ราชวงศ์คันธาระบุกปาฏลีบุตร และยึดมัธยประเทศได้ ราชวงศสังกะจึงถูกราชวงศ์คันวะ ล้มในพ.ศ. 468 ราชวงศ์คันวะอยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกล้มโดยราชวงศ์คันธาระในพ.ศ. 517
ประมาณพ.ศ. 500 พวกซิเทียน (Scythians) จากเอเชียกลางบุกเข้าอินเดีย ทำลายอาณาจักรกรีก-อินเดีย และยึดลุ่มแม่น้ำคงคาได้ ชาวอินเดียเรียกว่าซิเทียนว่าพวกสักกะ (Sakas) จนพวกสักกะตั้งอาณาจักรย่อยมากมายเรียกว่ากษัตริย์ตะวันตก (Western Kshatrapas หรือ Western Satraps) ทางตะวันตกของราชวงศ์คันธาระในแคว้นมัลละ
ราชวงศ์คันธาระถูกพวกสักกะรุกรานอย่างหนัก จนพระเจ้าโคตรมีบุตร สัตตการณ์ แห่งคันธาระ เอาชนะพวกสักกะได้ในพ.ศ. 621 แต่ต่อมาพ.ศ. พระเจ้ารุทราดามันของพวกสักกะก็เข้าถล่มราชวงศ์คันธาระจนย่อยยับ ประมาณพ.ศ. 700 อำนาจของราชวงศ์คันธาระเสื่อมลง อาณาจักรต่างๆแยกตัวออกไป

ราชวงศ์กุษาณะ (พ.ศ. 600 - 918)
พวกเย่จื่อ (Yuezhi) เป็นชนเผ่าทางตะวันตกของจีน เร่ร่อนอ้อมเทือกเขาหิมาลัยจนมาถึงอินเดียประมาณพ.ศ. 600 กุจุฬา กุษาณะ รวบรวมเผ่าเย่จื่อ หรือพวกกุษาณะ ขึ้นเป็นอาณาจักร พวกกุษาณะพบกับชาวกรีก-อินเดีย จึงรับอารยธรรมกรีกและพระพุทธศาสนา ราชวงศ์กุษาณะเรืองอำนาจสมัยพระเจ้ากนิษกะ พ.ศ. 670 แผ่อิทธิพลไปทั่วทั้งลุ่มแม่น้ำคงคา ขับพวกสักกะลงไปทางใต้
แต่พ.ศ. 783 ราชวงศ์ซาสสานิด (Sassanid dynasty) จากเปอร์เซียเข้าบุกยึดอินเดียและขับพวกกุษาณออกไปทางเหนือ พระเจ้าชาร์ปูร์แห่งเปอร์เซียตั้งข้าหลวงปกครองอินเดีย เรียกว่า กุชานชาห์ (Kushanshah) แปลว่า เจ้าแห่งกุษาณ

ราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 - 1149)
เมื่อไม่มีพวกกุษาณะเป็นโอกาสให้แคว้นมคธเรืองอำนาจอีกครั้งภายใต้พวกลิจฉวี ในพ.ศ. 863 จันทรคุปต์ แต่งงานกับลูกสาวพวกลิจฉวี จึงได้ครองแคว้นมคธภายใต้ราชวงศ์คุปตะ พระโอรสคือพระเจ้าสมุทรคุปต์ แผ่ขยายอิทธิพลคุปตะไปทางใต้แทนที่ราชวงศ์คันธาระ ประมาณพ.ศ. 900 ราชวงศ์คุปตะก็ได้อินเดียไปครึ่งทวีป และพ.ศ. 952 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ปราบพวกสักกะในแคว้นมัลละได้หมด
สมัยคุปตะเป็นสมัยที่ศิลปวัฒนธรรมอินเดียรุ่งเรือง เป็นยุคทองของศาสนาฮินดูและพุทธ คัมภีร์ปุราณะก็ถือกำเนิดในสมัยนี้ แต่ราชวงศ์คุปตะก็เสื่อมลง ด้วยการรุกรานจากพวกหุนะ หรือ พวกฮั่น(Huns) หรือ เฮฟทาไลท์ (Hephthalites) จากเอเชียกลาง พวกหุนะบุกทะลุทะลวงเข้ามายึดได้ตั้งแต่เทือกเขาฮินดูกูชถืงแคว้นมัลละ ราชวงศ์คุปตะอ่อนแอลงและแตกออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ขณะที่ราชวงศ์คุปตะยังคงครองแคว้นมคธอยู่แต่สูญเสียการควบคุมอาณาจักรอื่น
ส่วนทางใต้ในพ.ศ. 888 ราชวงศ์คาดัมบา (Kadamba dynasty) เป็นราชวงศ์คันนาดา เป็นพวกฑราวิท ตั้งตนขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์คันธาระเดิมและต้านทานอินธิพลของราชวงศ์คุปตะได้ นอกจากพวกทมิฬแล้วราชวงศ์คาดัมบาเป็นราชวงศ์ดราวิเดียนราชวงศ์แรกที่ได้ปกครองตนเอง ขณะที่พวกทมิฬก็สูญเสียเอกราขให้แก่ราชวงศ์กัลพร์ (Kalabhras)